วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

สภาวัฒนธรรม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา



หลายคนชอบพูดว่าตระหนักในวัฒนธรรมของชาติจะสูญหาย  ผมมีความรู้สึกดีๆทุกครั้งที่ได้ยินของอาการความเป็นห่วง หลายคนออกแบบการรักษาไว้อย่างสวยหรู หลายคนให้คำจำกัดความของวัฒนธรรม ฯลฯ นึกในใจอยู่นานว่า “ท่านๆปฏิบัติต่อวัฒนธรรมอย่างไร ในสถานะอะไร” จนเมื่อที่ประชุมในระดับอำเภอของนาหม่อมเราได้มีฉันทามติ ให้ผมได้ดำรงตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอนี้ สิ่งแรกหลังการมีมติคือการประกาศจุดยืนและนโยบายที่จะร่วมกันทำดังนี้
1.             จัดให้มีการทำฐานข้อมูลด้านบุคคลที่มีคุณูปการต่อพื้นที่อำเภอนาหม่อม
2.            จัดให้มีการสรุปกิจกรรมที่ชาวอำเภอนาหม่อมได้ปฏิบัติต่อๆกันมา
3.            จัดให้มีการสรุปประเพณีที่ชาวอำเภอนาหม่อมยึดถือและปฏิบัติสืบเนื่องกันมา
4.             

     และการประกาศพิจารณาตนเองหากไม่ได้บุคคลที่มีคุณูปการต่อพื้นที่ จำนวน 99 คนในระยะเวลา 3 เดือนเหตุของที่มา...จากการพบปะและการดำเนินชีวิตรวมกันเป็นชุมชนตำบลและอำเภอ สิ่งที่พบเห็นคือ “คนนาหม่อมเป็นคนดีมีพื้นฐานจิตใจโอบอ้อมอารี” ทุกๆวันจะพบเรื่องดีๆของผู้มีน้ำใจทั่วทั้งอำเภอ ทั้งภาครัฐ เอกชน พ่อค้า แม่ขาย องค์กรปกครองท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พระ ครู นักเรียน ผู้ประกอบกิจการส่วนตัว ซึ่งล้วนแล้วเป็นคนดีกันทั้งนั้น
แน่นอนครับก็ต้องมีที่ไม่ดีอยู่บ้างเล็กน้อย ที่กล่าวอย่างนี้เพราะคนดีๆส่วนใหญ่ ไม่มีใครอยากจะออกมานำทำชุมชน สอบถามก็ได้ความว่า “ไม่รู้ ไม่อยากยุ่งยาก เบื่อแล้ว ทำมาเยอะแล้ว ไม่มีใครส่งเสริม โดนมาหลายทีเซ็นชื่อรับของแล้วก็กลับ มีค่ารถ ค่าน้ำมันไหม”
ซึ่งจริงๆแล้วก็เหมือนกับหลายๆพื้นที่ จนครั้งหนึ่งที่เก็บฐานข้อมูลแบบหยาบๆ ก็พบว่ามีเรื่องของคนดีไปตกอยู่ที่คนๆเดียว หรือที่ “นักวาทกรรม” เรียก “หมวกหลายใบ”  จนในที่สุดหมวกอย่างน้อย  2 ใบที่ผมได้มาคือ “ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งขมิ้น” และ “ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอนาหม่อม”  หมวกที่มาตอนผมไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว นอกจากชีวิตชาวสวนยางที่ ตัดมั่งไม่ตัดมั่ง แต่ทำอย่างอื่นๆไปด้วยตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แล้วจุดเปลี่ยนก็ต้องมาถึงจนได้เมื่อมีปรากฏการ “หัวล้านได้หวี” บ่อยครั้งในขณะที่หลายคนอยู่ในสภาพผมยุ่งเหยิงแต่กับทุกปล่อยไปตามยะถากรรม หาความมีสิทธิเสมอภาคกันไม่ได้  ด้วยระบบประชาธิปไตยทางอ้อมที่ใช้กันอยู่ และยังใช้กันอยู่อีกทั้งๆที่ 80 ปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยทางอ้อมทำได้เพียงแค่ “เปลี่ยนระบอบการปกครอง จาก กษัตริย์มาเป็นนักการเมือง เท่านั้นเอง ปวงชนชาวไทยมิได้จับต้องประชาธิปไตยเลย” ทำให้บางวาระของผู้ดำรงตำแหน่งของการปกครองส่วนท้องถิ่นยังยึดถือระบบประชาธิปไตย โดยตนเองเป็นศูนย์กลางอีกที เสมือนพ่อค้าคนกลาง
ผมนั่งอ่านเจตนารมณ์ทั้งสองฉบับคือ พรบ.สภาองค์กรชุมชน 2551 และ พรบ.สภาวัฒนธรรม 2553 ล้วนแล้วแต่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นชาติทั้งนั้น และที่สำคัญคือ “การมีส่วนรวมของประชาชน”
แน่นอนครับ รู้ฟ้า รู้ดิน รู้จักถามผู้รู้ รู้จัดกระบวนการ มีคุณธรรมประจำใจ มี บ้าน วัด โรงเรียน มีครู คลัง ช่าง หมอ น่าจะพอแล้ว ...ลงมือกันดีกว่าครับ.....