วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา


















อะไรที่สภาวัฒนธรรมต้องพึงสังวรณ์




วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ผ่านพ้นไปกับการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา  โดยมีคณะกรรมการ 51 ท่าน ผมเองคงรอคำสั่งแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในฝ่ายสื่อและประชาสัมพันธ์แล้วจึงจะขอแสดงความคิดเห็นในจุดยืนของการทำงานสภาวัฒนธรรมในระดับจังหวัดสงขลาอีกที

กลับมาสู่บทบาทหน้าที่ตนเองในฐานะประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอนาหม่อม  หลังจากที่ได้ประชุมย่อยคณะทำงานของสภาวัฒนธรรมอำเภอโดยแบ่งโครงสร้างการทำงานซ้อนกันสองชั้นคือ

1.     สภาฯที่มาจากตำบล มีหน้าที่ ดูแลกลุ่มจดแจ้งในพื้นที่ตนเอง สรุปทำข้อมูล เพื่อพัฒนาต่อไปในทิศทางของตนเอง

2.     กลุ่มจดแจ้งที่เป็นลักษณะกิจกรรมเดียวกัน เช่น กลุ่มดนตรี  กลุ่มอาชีพ กลุ่มศิลปะ กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน

3.     วัฒนธรรมอำเภอจึงต้องมีจุดยืน ณ พื้นที่ปฏิบัติของตนไม่สถานะใดก็สถานะหนึ่งอยู่แล้ว วัฒนธรรมอำเภอจึงมีหน้าที่ อำนวยประโยชน์ให้แก่สองกลุ่มดังกล่าว

ประเด็นการขับเคลื่อนจึงกระจายไปสู่กลุ่มต่างๆอย่างทั่วถึง และเป็นต้นแบบของการกระจายอำนาจในการปฏิบัติ ที่รัฐบาลต้องการเห็น  การจดแจ้งจัดตั้งกลุ่มมีการจดแจ้งทั้งสอง พรบ.คือ 1.สภาวัฒนธรรม 2.สภาองค์กรชุมชน เพื่อให้มีศักดิ์และสิทธิ์ที่จะเข้าถึงอำนาจการจัดการตนเอง เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรม ตามแบบที่ตนเองได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา

เราคงไม่พูดถึงประเด็นของการหลงวัฒนธรรม ณ เวลานี้เพราะประเมินไม่ได้ว่าเป็นไปในทิศทางได้ สภาพปัญหาการแย่งชิง การดำเนินชีวิต การแข่งขัน การเข้าสู่ระบบทุน มันทำลายวัฒนธรรมมาเยอะแล้ว แต่ประเด็นการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพไม่มีให้เห็น ตัวชี้วัดไม่มี แบบอย่างที่ถูกต้องและสามารถจะปฏิบัติสืบเนื่องไม่มีใครทำ ปล่อยโอกาสให้ “นักวาทกรรม”มาพูดให้ความรู้แสดงความคิด และจิตนาการไปเรื่อย เป็นการเสียเวลาโดยป่าวประโยชน์

สภาวัฒนธรรม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา  หลังจากได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ วางแผน ตั้งตัวชี้วัด จึงได้จัดทำแผนแม่บทของการจัดการตนเองในด้านวัฒนธรรมเต็มรูปแบบ โดยมีระบบคุณธรรมเป็นกฎกติกาในการควบคุมการปฏิบัติงาน ใช้แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือ ตัวชี้วัดคือการกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในสังคมปัจจุบัน และเป็นต้นแบบของมนุษย์พันธุ์ใหม่ภายใต้การรักษาวิถีเดิมนำพาสู่อาเซียน

ต่อไปใช้รูปแสดงให้เห็นว่าที่มาเรามาอย่างไร ปัจจุบันเรายืนอยู่จุดไหน และจะเดินต่อไปอย่างไร
เรามีปู่ย่าตายายที่เล่าถึงความเป็นมาของรากเหง้า



เรามีวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตที่หลายหลาย


เรามีผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมทุกรุ่น




เรามีองค์ความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อม ประยุกต์ใช้




เรามีสามัญสำนึกในการเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรม


ภาพเล็กๆน้อยๆกว่าแสนภาพ ที่จะปรากฎสู่สายตาท่านให้สัมผัสถึง "ไออุ่นแห่งแผ่นดินเกิด"


 และบุคลากรของกระทรวงวัฒนธรรมทุกๆท่านครับ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น